IR FAQ

ธุรกิจทางพิเศษ และธุรกิจรถไฟฟ้าที่บริษัทให้บริการมีการเติบโตอย่างไร
ธุรกิจทางพิเศษ เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 1-2 ต่อปี
ธุรกิจรถไฟฟ้า เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5-7 ต่อปี
ธุรกิจทางพิเศษ และธุรกิจรถไฟฟ้าที่บริษัทเป็นผู้ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน มีจำนวนผู้ใช้บริการเท่าไร
ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการทางพิเศษเฉลี่ย 1.2 ล้านเที่ยวต่อวัน และ ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงค (สายสีน้ำเงิน) มีจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ย 350,000 เที่ยวต่อวัน
บริษัทเป็นผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าโครงการใดบ้าง
โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีนํ้าเงิน)
  • ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ (สถานีหัวลำโพง-สถานีบางซื่อ)
  • ส่วนต่อขยาย ส่วนที่ 1 สถานีเตาปูน
  • ส่วนต่อขยาย ส่วนที่ 2 สถานีหัวลำโพง - สถานีหลักสอง
  • ส่วนต่อขยาย ส่วนที่ 3 สถานีเตาปูน – สถานีท่าพระ (เปิดให้บริการภายในเดือน มีนาคม 2563)
โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ (สถานีคลองบางไผ่-สถานีเตาปูน)
บริษัทเป็นผู้รับสัมปทานทางพิเศษโครงการใดบ้าง
  • โครงการทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) ส่วน A, B, C, D
  • โครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (SOE)
  • โครงการทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) (C+) ซึ่งดำเนินการผ่านบริษัทย่อย คือ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด (NECL) ซึ่งบริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.99
บริษัทมีโครงสร้างรายได้เป็นอย่างไร
รายได้ของบริษัทประกอบด้วยรายได้จาก 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจทางพิเศษ ร้อยละ 65 ธุรกิจระบบราง (รถไฟฟ้า) ร้อยละ 30 และธุรกิจพัฒนาเชิงพาณิชย์ ร้อยละ 5
ธุรกิจพัฒนาเชิงพาณิชย์ประกอบด้วยธุรกิจอะไรบ้าง
ธุรกิจพัฒนาเชิงพาณิชย์ บริหารงานภายใต้ บริษัท แบง คอกเมโทรเน็ตเวิร์ค จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้นร้อยละ 89.67 โดยประกอบด้วย 3 ธุรกิจดังนี้
  • ธุรกิจโฆษณา
  • ธุรกิจโทรคมนาคม
  • ธุรกิจพื้นที่เชิงพาณิชย์ (Metro Mall)